ร้าน มะกะระ พระกรุ
www.makara.99wat.com
Tel: 0813116011
0818306399

พระเครื่องทุกองค์ รับประกันเป็นพระแท้ ตามมาตราฐานสากล

พร้อม ส่งประกวดเพื่อยืนยันความแท้กับงานประกวดระดับมาตราฐาน 

สมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย 

(Thai Buddha Image Admiration Association)  

หรือยินดี ส่งตรวจรับรองพระแท้

โดย นิตยสารท่าพระจันทร์ , การันตีพระ , งานประกวดพระเครื่องพระบูชาโดยสมาคมพระเครื่องพระบูชาไทย

เงินท่านแท้ ท่านก็ควรได้พระแท้ไปครอบครอง 

 
พระวัดรังษีสุทธาวาส พิมพ์กลาง ติดรางวัลที่3 สองงาน


  ส่งข้อความ

ชื่อร้านค้า
มะกะระ พระกรุ
โดย
makara995
ประเภทพระเครื่อง
พระติดรางวัล
ชื่อพระ
พระวัดรังษีสุทธาวาส พิมพ์กลาง ติดรางวัลที่3 สองงาน
รายละเอียด
พระวัดรังษี

"ในอดีตพระนิพนธ์ของ สมเด็จฯ กรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ได้กล่าวไว้ตอนหนึ่งถึงของดีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ว่า ผู้ใดมีพระวัดรังษี ผู้นั้นชีวีไม่วางวาย"

ถ้ากล่าวถึง “พระวัดรังษี” หลายคนคงรู้จักดี เนื่องจากเป็นพระที่มีชื่อเสียงมากและเป็นที่นิยมสูงในอดีต ดังพระนิพนธ์ของ สมเด็จฯ กรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ได้กล่าวไว้ตอนหนึ่งของการกล่าวถึงของดีแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ว่า "ผู้ใดมีพระวัดรังษี ผู้นั้นชีวีไม่วางวาย" ซึ่งนับเป็นคำกล่าวที่ไม่ต้องมีคำบรรยายใดๆ ก็สามารถบ่งบอกถึงคุณค่าของพระวัดรังษีอย่างที่จะหาพระวัดใดเทียบเท่าได้แล้ว ทำให้สนนราคาเช่าหาในช่วงนั้นแพงกว่าพระสมเด็จวัดบางขุนพรหมถึง 3-4 เท่าทีเดียว ณ ปัจจุบัน ถือเป็นพระเครื่องที่หายากมาก

เดิมบริเวณ “วัดบวรนิเวศวิหาร” เป็นที่ตั้งของวัด 2 วัดซึ่งอยู่ติดกัน คือ วัดบวรนิเวศและวัดรังษี สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมพระยาปวเรศฯ เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศ ก็ใกล้ชิดสนิทสนมกับ ท่านเจ้าคุณธรรมกิติ เจ้าอาวาสวัดรังษี มาก ไปมาหาสู่เพื่อแลกเปลี่ยนและศึกษาหาความรู้กันเป็นประจำ ต่อมาเมื่อท่านเจ้าคุณธรรมกิติมรณภาพ สมเด็จพระสังฆราช กรมพระยาปวเรศฯ จึงรวมวัดรังษีเข้ากับวัดบวรนิเวศ ตั้งชื่อใหม่ว่า "วัดบวรรังษี" ซึ่งก็คือ "วัดบวรนิเวศวิหาร"

พระวัดรังษี นั้น แบ่งแยกได้ทั้งหมด 4 พิมพ์ คือ พิมพ์ใหญ่ เนื้อผงขาว พิมพ์ใหญ่ เนื้อผงดำ ลงรักล่องชาดและปิดทอง หลังกดตรายันต์ พิมพ์กลาง เนื้อผงขาว ศิลปะหน้าตักจะเหมือนเลข 8 แนวนอน และพิมพ์เล็ก เนื้อผงขาว ศิลปะหน้าตักเหมือนเลข 8 แนวนอน นอกจากนี้ ในแต่ละพิมพ์ก็มีเกร็ดเล็กๆ น้อยๆ ให้สังเกตอีกมาก อาทิ พระวัดรังษี เนื้อผงขาว ทั้งพิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง และพิมพ์เล็ก นั้น มีทั้งชนิดปิดทองและไม่ปิดทอง

ข้อน่าสังเกตประการหนึ่งคือ กรรมวิธีการปิดทองของพระวัดรังษีจะแตกต่างจากพระสมเด็จวัดระฆังโฆสิตารามของท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ซึ่งจะนำองค์พระจุ่มรักก่อนแล้วจึงปิดด้วยทองคำเปลว แต่สำหรับพระวัดรังษีของท่านเจ้าคุณธรรมกิติ นั้น ไม่มีการจุ่มรัก ท่านเจ้าคุณฯ จะใช้ทองคำเปลวปิดลงบนแม่พิมพ์ก่อนแล้วจึงกดพิมพ์ เมื่อถอดพระออกทองคำเปลวก็จะติดบนองค์พระ กรรมวิธีดังกล่าวนี้จึงทำให้ทองคำเปลวติดไม่แน่นนัก เมื่อผ่านกาลเวลายาวนานถึงปัจจุบันเป็นร้อยปี องค์พระจึงมีทองเปลวติดอยู่บ้างและหลุดลอกไปบ้าง ด้านเนื้อมวลสารที่ใช้สร้างองค์พระก็จะมีลักษณะแห้งและหดตัวมาก ทำให้เส้นสายต่างๆ บนองค์พระเกิดเป็นเส้นนูนและคมชัดเจน เส้นนูนแต่ละเส้นตรงรอยที่ติดกับพื้นขององค์พระจะเป็นร่องของการหดตัวคอดกิ่วเหมือนเอาเส้นขนมจีนไปวางเรียงไว้ ถ้าพิจารณาพุทธลักษณะโดยรวมแล้วค่อนข้างจะเหมือนกับพระกริ่งที่มีศิลปะแม่พิมพ์ลึกมาก ดังนั้น แนวทางการพิจารณาน่าเริ่มจากการจดจำภาพรวมของลักษณะหน้าตา ลำตัว แขน มือ หน้าตัก และฐาน รวมทั้งเนื้อมวลสารและเอกลักษณ์ของพื้นผิวขององค์พระก่อน แต่ที่สำคัญขอเน้นเรื่อง “หน้าตา” เหมือนกับเราจดจำคนนั่นแหละ พบเห็นหน้ากันบ่อยๆ ก็จะคุ้นตาชินตา ยกตัวอย่างพระวัดรังษี พิมพ์ใหญ่

“พระวัดรังษี พิมพ์ใหญ่” ทั้งเนื้อผงขาว และเนื้อผงสีดำ ลงรักล่องชาดและปิดทอง หลังกดตรายันต์ มีเอกลักษณ์เฉพาะที่ องค์พระประธาน ประทับนั่งขัดสมาธิเพชร พระบาทข้างขวาขององค์พระที่ทับอยู่บนพระบาทข้างซ้ายจะลึกเห็นเป็นลำน่องอย่างชัดเจน สาเหตุมาจากการหดตัวขององค์พระนั่นเอง ขอบแม่พิมพ์เส้นนอกเป็นเส้นโค้ง เส้นในเป็นเม็ด ส่วนปีกขอบจะปลิ้นขึ้นและเป็นสันคม บริเวณกึ่งกลางของพระกรรณ จะมีลักษณะยุบลง และส่วนปลายพระกรรณ มีเม็ดยื่นทั้งสองข้าง พระกรด้านซ้ายขององค์พระถือคนโทน้ำมนต์ พระอังคุฐ มีลักษณะเหมือนก้ามปู ผ้าทิพย์ ที่อยู่ระหว่างพระเพลาและฐานขององค์พระจะลึกและเป็นสันคมมาก ดอกบัวด้านล่างข้างขวาสุดขององค์พระไม่ติดขอบบนของฐาน พิมพ์ด้านหลัง นูนเหมือนหลังเบี้ย ปรากฏรอยเหมือนลายเส้นหัวแม่มือ ขอบด้านหลังจะคมและม้วนไปข้างหน้า และส่วนที่แตกต่างคือพระวัดรังษี พิมพ์ใหญ่ เนื้อผงสีดำ ลงรักล่องชาดและปิดทอง หลังกดตรายันต์ นั้น นอกจากจะลงรักล่องชาดและปิดทอง แล้ว ด้านหลังจะมีตรายันต์ประทับอยู่ด้วย เป็นต้น

 
ราคา
-
เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ
0813116011
ID LINE
0818306399
จำนวนการเข้าชม
8,639 ครั้ง
บัญชีธนาคารที่ใช้ยืนยันตัวตน
ธนาคารกรุงเทพ / 244-0-006xx-x

แสดงความคิดเห็น